กำแพงเมืองจีน มรดกโลกที่แลกมากับชีวิตผู้คนนับล้าน
“กำแพงเมืองจีน” เป็นสถาปัตยกรรม มรดกโลกที่ยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์ยาวนานหลาย 1,000 ปี ความยิ่งใหญ่ของกำแพงเมืองจีนนั้น ถึงขั้นที่ว่าหากใช้กล้องดาวเทียมส่องลงมายังพื้นโลกจะมองเห็นกำแพงเมืองจีนได้ แน่นอนว่าสิ่งปลูกสร้างแสนสวยงามในยุคไร้เทคโนโลยีความเจริญก้าวหน้า ย่อมต้องแลกมากับการสูญเสียกำลังพล หยาดเหงื่อ ชีวิตของมนุษย์มากมาย สำหรับชาวจีนแล้ว กำแพงเมืองจีนจึงไม่ใช่แค่มรดกโลก แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงการกดขี่เพื่อนมนุษย์ เรื่องราวสุดสยองของกำแพงเมืองจีน กำแพงเมืองจีนถูกสร้างขึ้นมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว โดยแรกเริ่มเดิมที กำแพงเมืองจีนเป็นเพียงกำแพงที่แต่ละเมืองสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้เมืองอื่นเข้ารุกราน เมื่อเวลาผ่านไปจีนรวบรวมแผ่นดินใหญ่ ฮ่องเต้แต่ละยุคสมัยจึงได้ทำการเชื่อมกำแพงเมืองจีนเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นกำแพงที่ขึ้นชื่อว่ายาวที่สุดในโลก ว่ากันว่าการเชื่อมกำแพงเมืองจีนครั้งแรกเกิดขึ้นในราชวงศ์ฉิ๋น ฮ่องเต้เชื่อมกำแพงเพื่อป้องกันชนเผ่าทาทาหรือชาวมองโก และหลังจากนั้นมาทุกราชวงศ์ก็มีการต่อเติมกำแพงเมืองจีนให้ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนถึงราชวงศ์สุดท้ายที่ทำการก่อสร้างกำแพงเมืองจีนอย่างราชวงศ์หมิง สมัยราชวงศ์หมิง “จิ๋นซีฮ่องเต้” ได้สั่งเผาวรรณกรรมทุกอย่างเพราะไม่อยากให้ใครได้รู้ว่าประวัติศาสตร์ของจีนเริ่มต้นมานานแล้ว พระองค์ต้องการให้ประวัติศาสตร์ของจีนถูกบันทึกโดยเริ่มต้นจากราชวงศ์ของพระองค์เป็นราชวงศ์แรก สมัยนั้นจึงมีนักปราชญ์และผู้ที่ครอบครองตำรามากมายถูกสั่งประหารไปกว่า 460 คน บ้างก็นำไปเป็นแรงงานสร้างกำแพงเมืองจีน หากแรงงานแอบหลับหรืออู้งานก็จะถูกโยนไปฝังในร่องกำแพงทั้งเป็นอย่างไร้ความปราณี เนื่องจากกำแพงเมืองจีนเป็นสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่จึงต้องใช้แรงงานคนเป็นจำนวนมาก เชื่อว่าในสมัยนั้นมีการเกณฑ์คนมาทำกำแพงเมืองจีนกว่า 4,000,000 คน ทั้งนักโทษและทาสต่างล้มตายเพราะถูกใช้งานจนหนัก บ้างก็ถูกผลักตกกำแพงเมืองจีนไปฝังทั้งเป็น จนมีคำกล่าวว่า หากถูกเกณฑ์ไปสร้างกำแพงเมืองจีนแล้วยากที่จะรอดกลับมา ไปสิบคนจะมีคนเหลือรอดเพียงแค่คนเดียว ในสมัยราชวงศ์ฮั่นเริ่มมีคนต่อต้านการสร้างกำแพงเมืองจีน เพราะเริ่มรับรู้ได้ถึงการกดขี่ที่ไม่เป็นธรรม จนถึงขั้นแต่งเพลงแต่งวรรณกรรมต่างๆมาด่ากำแพงเมืองจีนเลยทีเดียว หากรวมระยะเวลาตั้งแต่สร้างและซ่อมแซมแล้ว กำแพงเมืองจีนใช้เวลายาวนานกว่า 2,000 ปี ซึ่งใน 2,000 […]