จตุคามรามเทพ เทวดาผู้รักษาบ้านเมือง
ชาวนครศรีธรรมราชมีความเชื่อว่า จตุคามรามเทพ คือ เทวดาสององค์ที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช คือท้าวขัตตุคามและท้าวรามเทพ ภายหลังได้มีการเปลี่ยนชื่อท้าวขัตตุคามให้เกิดความเป็นมงคลเป็นท้าวจตุคาม แต่เดิมตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ เทวดาทั้งสองเป็นเทพชั้นสูง เมื่อความเชื่อทางพุทธศาสนาเข้ามาสู่ภูมิภาคอุษาคเนย์ เทวดาทั้งสองคือท้าวจตุคามและท้าวรามเทพ จึงมาทำหน้าที่เป็นองค์เทพผู้รักษาพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช องค์จตุคามรามเทพถูกอัญเชิญมาพร้อมการตั้งดวงเมือง ในปี พ.ศ. 2530 ทางจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มีการตั้งดวงเมืองขึ้นใหม่ จึงได้มีพิธีอัญเชิญเทวดาทั้งสองมาประดิษฐานอยู่บริเวณประตูทางขึ้นพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ชาวนครศรีธรรมราชเชื่อกันว่าท้าวจตุคามคือเทวดาผู้มีตำแหน่งพระเสื้อเมืองหมายถึงท้าวจตุโลกบาลผู้เป็นใหญ่ทั้งสี่ทิศ ส่วนท้าวรามเทพคือพระทรงเมืองอันเป็นพระนารายณ์อวตารลงมาเป็นกษัตริย์ ต่อมาท้าวจตุคามและท้าวรามเทพได้รวมกันเป็นองค์จตุคามรามเทพเพียงองค์เดียวตามคติตรีมูรติในศาสนาฮินดู ดังนั้น จตุคามรามเทพ จึงหมายถึง ดวงพระวิญญาณแห่งอดีตบูรพมหากษัตริย์ผู้มาสถิตเป็นผู้คุ้มครองดูแลบ้านเมืองทั้งสี่ทิศทรงฤทธิ์อำนาจอย่างเต็มเปี่ยม และเพียบพร้อมไปด้วยบารมีธรรม 10 ประการ แห่งพระโพธิสัตว์ ผู้มีความเมตตาต่อมนุษย์ผู้ทุกนาม เป็นพระเทวราชโพธิสัตว์ ในตำนานนั้นมีอีกความเชื่อหนึ่งว่ากันว่าองค์จตุคามรามเทพคือพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 ของราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช มีพระนามว่าพระเจ้าจันทรภาณุ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักรบผู้แกร่งกล้าซึ่งมีพระวรกายเป็นสีเข้ม ต่อมาพระองค์สำเร็จวิชาจตุคามศาสตร์และทรงบำเพ็ญบารมีเพื่อสำเร็จเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อบรรเทาทุกข์แก่มนุษย์ทั้งปวง ปัจจุบัน จตุคามรามเทพ ได้รับความเคารพบูชาอย่างกว้างขวาง โดยเชื่อว่าทรงฤทธานุภาพในทุก ๆ ด้าน การขออธิษฐานจากพระองค์นั้นทำได้โดยมีเงื่อนไข 3 ประการ คือ อธิษฐานขอในสิ่งที่เป็นไปได้ โดยไม่ขัดต่อศีลธรรม เมื่อได้รับสิ่งที่หวังแล้ว ต้องรักษาสัจจะที่ได้ให้ไว้กับพระองค์ ควรจะต้องสร้างกุศลกรรมถวายแด่องค์จตุคามรามเทพ เกิดกระแสความนิยมในการสร้างองค์จตุคามรามเทพ เมื่อปี พ.ศ. […]