ตะกรุดตากสินมหาราช สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดไตรมิตร

ตะกรุดตากสินมหาราช สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดไตรมิตร

วัตถุมงคลที่เสริมด้านเมตตา บารมี แคล้วคลาดปลอดภัย ขึ้นชื่อคือ ตะกรุดตากสินมหาราช อาราธนาเพื่อความร่มเย็นเป็นสุข เป็นสิริมงคลแก่ผู้บูชา ใช้ชนวนเก่าของวัด แผ่นจารพระเกจิทั่วประเทศ วัตถุมงคลชิ้นนี้ถูกสร้างปลุกเสกขึ้นเพื่อสมทบทุนสร้างศาลาปฏิบัติธรรม บูรพาจริยานุสรณ์ และบูรณะพระอารามวัดนาคกลางวรวิหาร โดย พระปริยัติวโรปการ เจ้าอาวาสวัดนาคกลางวรวิหาร

ตะกรุดตากสินมหาราช ตระกรุดมหาบารมี

การสร้าง ตะกรุดตากสินมหาราช เกิดจากเรื่องราวความกล้าหาญ และความเชื่อในบารมีของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีพระนามเดิมว่า “สิน” ชื่อจีนเรียกว่า เซิ้นเซิ้นซิน พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 พระราชบิดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ชื่อ “นายไหฮอง” ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ”นางนกเอี้ยง” ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งเจ้าพระยาจักรีได้ขอไปอุปการะเป็นบุตรบุญธรรมตั้งแต่ครั้งเยาว์วัย ครั้นอายุ 5 ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำไปฝากเรียนกับพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส (วัดคลัง) ทรงศึกษาหนังสือขอมและหนังสือไทยจนจบบริบูรณ์ ตลอดจนศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน ต่อมาเมื่ออายุครบ 13 ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำตัวเด็กชายสิน ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำราชการกับหลวงศักดิ์นายเวร ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยาจักรี เมื่อมีเวลาว่างจะศึกษาหาความรู้ กับอาจารย์ชาวจีน อาจารย์ชาวญวน และ อาจารย์ชาวแขก จนเชี่ยวชาญและสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วทั้ง 3 ภาษาครั้นเมื่ออายุครบ 21 ปี ได้อุปสมบท ณ วัดโกษาวาส ทรงดำรงอยู่ในสมณเพศได้ 3 พรรษา จึงลาสิกขา และกลับมารับราชการตามเดิม ด้วยความฉลาด รอบรู้ขนบธรรมเนียมตลอดจนภารกิจต่างๆ อย่างดี สามารถทำงานต่างพระเนตรพระกรรณได้ 

จนได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นมหาดเล็ก รายงานราชการทั้งหลายในกรมมหาดไทย และ กรมวังศาลหลวงครั้น พ.ศ. 2301 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ 3 เดือนเศษ ก็ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเชษฐาธิราช “สมเด็จพระบรมราชาที่ 3” (สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์) สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงาน เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ไปชำระความที่หัวเมืองฝ่ายเหนือซึ่งปฏิบัติราชการได้รับความดีความชอบมากจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองตาก ช่วยราชการพระยาตากครั้นพระยาตากถึงแก่กรรม ก็ทรงโปรดให้เลื่อนเป็น “พระยาตาก ปกครองเมืองตาก”ในปี พ.ศ. 2307 เกี่ยวกับเครื่องรางของขลัง ของขลังไทย ของขลังเขมร ของขลังโบราณ ของขลังมหาเสน่ห์ เรื่องผี เรื่องลี้ลับ