จุดธูปไหว้พระอย่างไร…ให้ปลอดภัยต่อร่างกายจากควันธูป
ก่อนจะเท้าความเรื่องควันธูปนั้น การทำบุญไหว้พระเป็นประเพณีชาวไทยปฏิบัติมายาวนาน โดยใช้ธูปเทียนแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรานับถือบูชา เมื่อจุดธูปมากๆ ในแต่ละครั้ง จะปล่อยควันธูปออกมา ซึ่งเกิดจากธูปที่เผาไหม้จะปล่อยฝุ่นละอองและสาร “มลพิษ” มากมาย ซึ่งสารบางชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง โดยมี 3 สารอันตรายจากธูป
- ในควันธูปมีสารเบนซีน (Benzene)
- 1, 3 บิวทาไดอีน (1, 3 Butadiene)
- เบนโซเอไพรีน (Benzoapyrene)
จุดเด่นของ “ควันธูป” จากการไหว้พระ จะต้องระมัดระวังยังไง
โดยสารในควันธูปเป็นสารก่อมะเร็งที่เกิดจากการเผาไหม้ของกาว ขี้เลื่อย และน้ำหอมในธูป สายดังกล่าวก่อมะเร็งได้หลายชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือด, มะเร็งปอด, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
ในควันธูปมีสารพิษอีกมากมายหลายชนิดที่ส่งผลต่อสุขภาพ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์, ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสารในควันธูปมีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองตา และระบบทางเดินหายใจ เช่น แสบตา น้ำตาไหล จาม ไอ หายใจลำบาก หมดสติได้เมื่อสูดดมควันธูปหรือได้รับจากการสูดดมนานๆ โดยจะต้องหลีกเลี่ยงการจุดธูปบริเวณที่อากาศไม่ถ่ายเท หรือถ่ายเท ระบายควันธูปไม่สะดวก ควรใช้ธูปสั้นแทนธูปขนาดยาว เพื่อให้เกิดควันธูปน้อยกว่า จะเห็นได้ว่าตามศาลเจ้าควรตั้งธูปไว้นอกอาคาร หรือควรดับธูป ถ้าเป็นไปได้ควรเก็บธูปให้เร็วขึ้น ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ในศาสนสถานควรหลีกเลี่ยงสัมผัสควันธูปนานๆ และต่อเนื่องเกินไป ควรล้างมือ ล้างหน้าล้างตาให้บ่อยขึ้นเพื่อลดการระคายเคืองจากควันธูป
“ควันธูป” มีอิทธิพลต่อปัจจุบันยังไง
ควันธูปเป็นควันที่ส่งผลต่อความเสี่ยงค่อนข้างมาก ที่ชัดเจนในส่วนกลุ่มเสี่ยง 4 กลุ่มที่ต้องระวังควันธูป ไม่ว่าจะในกลุ่มเด็ก กลุ่มสตรีมีครรภ์ กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่มีโรคประจำตัว ควรหลีกเลี่ยงสัมผัส หรือสูดดมควันธูป หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันควันธูป หลีกเลี่ยงการพักผ่อนหรือนอนหลับบริเวณที่มีควันธูป และหมั่นทำความสะอาดบ้านเพื่อลดการสะสมฝุ่นละอองจากควันธูปที่ตกค้าง การไหว้พระก็เป็นความสุขทางใจ แต่การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันความเสี่ยงเกิดโรค ก็เป็นตัวช่วยในเรื่องความสุขทางกายและความสุขทางใจเช่นกัน
#เรื่องผี #เรื่องลี้ลับ #ควันธูป